ยุทธศาสตร์หน่วย
ยุทธศาสตร์ของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ ได้กำหนดให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐ จึงต้องทบทวนบทบาท ภารกิจ และปรับจุดเน้นด้านการจัดทำระเบียบชายแดนด้วยมิติความมั่นคงใหม่ที่เป็นสากลและไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้า ไม่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างบรรยากาศทางการค้า การลงทุน ตลอดจนควบคุมอาชญากรรมตามแนวชายแดนให้ได้ภายใต้ศักยภาพและขีดความสามารถของตำรวจตระเวนชายแดนอย่างมืออาชีพ ดังนั้นจึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ ๔ ยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ “กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยงานหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีความเชี่ยวชาญในการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาความมั่นคงของรัฐในพื้นที่ชายแดน” ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ
เป้าหมาย
(๑) สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงปลอดภัย
(๒) ประเทศมีความมั่นคงปลอดภัย
(๓) พื้นที่ชายแดนปลอดภัยคุกคาม
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ เพิ่มศักยภาพในการบังคับใช้กฎหมาย การอำนวยความยุติธรรมทางอาญาและการให้บริการประชาชนอย่างเสมอภาคเป็นธรรม
เป้าหมาย
(๑) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สังคมชุมชนชายแดนมีความสงบเรียบร้อย
(๒) สนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างยั่งยืน
เป้าหมาย
(๑) มีการบุรณาการและร่วมมือกันของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชนและสังคมชายแดน
(๒) จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจตระเวนชายแดน
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาองค์กรให้ทันสมัย มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
เป้าหมาย
(๑) การจัดองค์ให้มีความเหมาะสม มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรทางการบริหารและระบบเทคโนโลยี
(๒) ระบบการบริหารงานบุคคลมีประสิทธิภาพ สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้
(๓) ข้าราชการตำรวจมีความเป็นมืออาชีพ มีความรู้ ทันสมัย เชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน
(๔) ข้าราชการตำรวจมีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ มีความรัก เชื่อมั่น ศรัทธาต่อองค์กร
(๕) เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความโปร่งใส